วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 1

กิจกรรมที่ 1
1.1 พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ได้ให้คำนิยามงบการเงินว่าอย่างไร
1.2 พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 ได้ให้คำนิยามคำว่าวิชาชีพบัญชีอย่างไร
1.3 จงบอกวัตถุประสงค์ของงบการเงิน
1.4 จงบอกลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน
1.5 จงบอกส่วนประกอบของงบการเงิน
1.6 จงยกตัวอย่างเรื่องที่ควรเปิดเผยในหัวข้อสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญมาสัก 2 เรื่อง
1.7 จงบอกความหมายของสินทรัพย์
1.8 จงระบุประเภทสินทรัพย์ในงบดุล
1.9 จงบอกเงื่อนไขการรับรู้รายการสินทรัพย์
1.10 จงระบุเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดมูลค่าสินทรัพย์
1.11 จงระบุรายการสินทรัพย์ที่ต้องแสดงในงบดุลเป็นแต่ละบรรทัพพร้อมจำนวนเงิน มา 3 รายการ
1.12 จงบอกข้อมูลสินทรัพย์ที่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินมาสัก 2 รายการ
1.13 จงระบุประเภทหลักของสินทรัพย์หมุนเวียน
1.14 จงอธิบายการจำแนกรายการลูกหนี้
1.15 จงระบุการจำแนกรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
1.16 จงยกตัวอย่างมูลค่าที่ใช้วัดเงินลงทุนระยะยาวที่เป็นตราสารหนี้และตราสารทุนมาสัก 4 มูลค่า

แม่บทการบัญชีและนำเสนองบการเงิน



งบการเงิน
ป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่ผ่านการรับรอง จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลของกิจการ สามารถนำไปเป็นข้อมูลทางด้านธุรกิจ รายรับ รายจ่าย ฐานะทางการเงินของกิจการได้



แม่บททางการบัญชี
คือ พื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำบัญชีให้เป็นมาตรฐาน เป็นแนวทางสำหรับจัดทำงบการเงิน ผู้จัดทำสามารถเข้าใจความหมายที่แสดงในงบการเงิน รวมทั้ง ผุ้ที่สนใจก็สามารถที่จะทราบข้อมูลได้ด้วย



งบการเงินจะจัดทำขึ้นภายใต้ข้อสมมุติ 2 ประการ
1. เกณฑ์คงค้าง จะรับรู้บัญชีเมื่อรับรู้รายการ ไม่ใช่ เมื่อมีการรับจ่ายเงินสด
2. การดำเนินการต่อเนื่อง กิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นเพื่อเลิกหรือลดขนาดกิจการ

กิจการส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์คงค้างในการบันทึกบัญชี


องค์ประกอบของงบการเงิน
1. สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ซึ่งคาดว่าจะได้รับประโยชน์ในอนาคต
2. หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันธ์ที่ทำให้กิจการเสียทรัพยากรในอนาคต
3. ส่วนของเจ้าของ หรือ ทุน หมายถึง ส่วนได้หรือส่วนเสีย หลังจากหักหนี้สินออกแล้ว
4. รายได้ หมายถึง รายการรับหรือการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรของกิจการ อันเป็นผลมาจากการเพิ่มค่าของทรัพยากร แต่ไม่รวมถึงทุนที่ได้รับจากผุ้มีส่วนร่วมจากส่วนของเจ้าของ
5. ค่าใช้จ่าย หมายถึง เป็นผลมาจากการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งทำให้ทรัพยากรลดค่าลง



ดังนั้น สินทรัพย์ + หนี้สิน + ทุน เป็นการวัดฐานะทางการเงินใน งบดุล
ส่วนรายได้ + ค่าใช้จ่าย เป็นการวัดผลการดำเนินงานใน งบกำไรขาดทุน



การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน
1. ราคาทุนเดิม คือ การบันทึกบัญชีสินทรัพย์ หรือ หนี้สิน ด้วยจำนวนเงิน หรือ เทียบเท่าเงินสด ที่นำไปแลกสินทรัพย์นั้น ซึ่งเกิดจากการดำเนินการของกิจการ
2. ราคาทุนปัจจุบัน คือ การแสดงสินทรัพย์ หรือ หนี้สิน ด้วยเงินสดหรือเทียบเท่าเงินสด เพื่อนำไปแลกสินทรัพย์ที่เท่ากัน โดยไม่ต้องคิดลด
3. มูลค่าที่จะได้รับ คือ การแสดงสินทรัพย์หรือหนี้สินด้วยจำนวนเงินสด หรือเทียบเท่า ที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ได้สินทรัพย์และเพื่อชำระหนี้ที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องคิดลด
4. มูลค่าปัจจุบัน คือ การแสดงสินทรัพย์ ณ เวลานั้น ที่จะได้รับ จากการดำเนินงานของกิจการ หรือหนี้สินที่ต้องจ่ายจากการดำเนินงาน


ส่วนประกอบของงบการเงิน
1. งบดุล ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการ จะรายงาน สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน
2. งบกำไรขาดทุน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงาน จะรายงานรายได้ ค่าใช้จ่าย รวมถึงกำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ ของงวด
3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการเปลี่ยนแปลง เพิ่มหรือลด ของเจ้าของกิจการ
4. งบกระแสเงินสด ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทีมา และการใช้ไปของเงินสดกิจการ โดยแบ่งเป็น
- กิจกรรมดำเนินงาน
- กิจกรรมลงทุน
- กิจกรรมจัดหาเงิน
5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นการอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่จำเป็นที่จะต้องนำเสนอในงบการเงิน


พระราชบัญญัติวิชาชีพการบัญชี 2547


พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 ตุลาคม 2547 และบังคับใช้วันที่ 23 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป โดยแบ่งเป็น 9 หมวดและบทเฉพาะกาล คือ
1. หมวดวิชาชีพบัญชี
2. หมวดสภาวิชาชีพบัญชี
3. คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
4. คณะกรรมการกำหนดมาตรนฐานการบัญชี
5. การควบคุมการประกอบวิชาชีพด้านการสอบบัญชี
6. การควบคุมการประกอบวิชาชีพด้านการทำบัญชี
7. จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
8. การกำกับดูแล
9. บทกำหนดโทษ

วิชาชีพบัญชี
หมายความว่า วิชาชีพในการทำบัญชี การทำ การสอบ การบริหาร การวางระบบ ด้านภาษี การศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี
ขนาดตัวอักษร
สภาวิชาชีพบัญชี
มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนานโยบาย เช่นการกำหนดมาตรฐานการบัญชี การสอบบัญชี กำหนดจรรยาบรรณ การออกใบอนุญาติ และ ถอด ใบอนุญาติ การทำบัญชี

สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี มี 4 ประเภท ได้แก่ สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ และสมาชิกกิตติมาศักดิ์

สถาบันที่กำกับดูแลหรือควบคุม
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดูแลให้กิจการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดูแลบริษัทจดทะเบียน การจัดทำบัญชีตามมาตรฐาน การนำส่งงบ และการเปิดเผยข้อมูล
- ธนาคารแห่งประเทศไทย ดูแลธนาคารพาณิชย์ และ สถาบันการเงิน
- กรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ ควบคุมดูแลสหกรณ์ในเรื่องต่างๆ รวมถึงการจัดทำบัญชีและงบการเงิน
- กรมสรรพากร ควบคุมให้กิจการเสียภาษีให้ถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กฏหมายและสถาบันเกี่ยวกับการบัญชี




พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ได้ให้ความหมายของงบการเงินและมาตรฐานการบัญชีดังนี้

งบการเงิน หมายความว่า รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงินของกิจการ หมายความถึง งบดุล กำไรสะสม งบดุล และรวมถึงงบประกอบงบการเงินด้วย
มาตรฐานทางการบัญชี หมายความว่า หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปคือที่กำหนดไว้เพื่อการนั้น

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
1. ห้างหุ้นส่วนจำกัดจดทะเบียน
2. บริษัทจำกัด
3. บริษัทมหาชนจำกัด
4. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในไทย
5. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฏากร
6. สถานธุรกิจที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ คือ อาจจะทำบัญชีในหลายที่แยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
7. บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะบียนเป็นผู้ผลิต เช่น นำเข้า ส่งออก


กำหนดวันเริ่มทำบัญชี
ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ให้เริ่มทำบัญชี ณ วันที่จดทะเบียนนิติบุคคลตามกฏหมาย
กิจการที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ ให้เริ่มทำบัญชี ณ วันที่เริ่มต้นทำธุรกิจในประเทศไทย
กิจการทั่วไปที่เป็นกิจการร่วมค้า หรือ สถานที่ที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ ให้เริ่มทำบัญชี ณ วันที่เริ่มต้นทำกิจการ


กำหนดวันยื่นงบ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ กิจการร่วมค้า ให้ยื่นงบภายใน 5 เดือน นับแต่วันที่ปิดบัญชี
บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ให้ยื่นงบภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบได้รับอนุมัติ


กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ
1. ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท
2. สินทรัพย์รวมกันไม่เกิน 30 ล้านบาท
3. รายได้รวมกันไม่เกิน 30 ล้านบาท
แต่ถ้ารายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดข้างต้น ให้กิจการนั้นๆ ต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ แต่ต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีภาษีอากรแทน

พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
วิชาชีพบัญชี หมายความว่า วิชาชีพด้านการบัญชี การสอบบัญชี บริหารบัญชี การวางระบบบัญชี ภาษีบัญชี
สภาวิชาชีพบัญชี มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยการดำเนินงานให้อยู่ภายใต้การดูแลของ คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี (ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน)

สถาบันเกี่ยวกับการบัญชี
1. สถาบันวิชาชีพ ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น สมาคมผู้สอบภายในแห่งประเทศไทย
สภาวิชาชีพบัญชี เป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ให้ความรู้ ศึกษา คิดค้น กำหนดจรรยาบรรณ ให้หรือถอนใบอนุญาติ รับรองความรู้ด้านบัญชี
2. สถาบันดูแลกำกับหรือควบคุม เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดูแลด้านการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบัญชี
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดูแลด้านการจดทะเบียนเรื่องต่างๆ เป็นต้น