วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กฏหมายและสถาบันเกี่ยวกับการบัญชี




พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ได้ให้ความหมายของงบการเงินและมาตรฐานการบัญชีดังนี้

งบการเงิน หมายความว่า รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงินของกิจการ หมายความถึง งบดุล กำไรสะสม งบดุล และรวมถึงงบประกอบงบการเงินด้วย
มาตรฐานทางการบัญชี หมายความว่า หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปคือที่กำหนดไว้เพื่อการนั้น

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
1. ห้างหุ้นส่วนจำกัดจดทะเบียน
2. บริษัทจำกัด
3. บริษัทมหาชนจำกัด
4. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในไทย
5. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฏากร
6. สถานธุรกิจที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ คือ อาจจะทำบัญชีในหลายที่แยกจากกัน ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
7. บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะบียนเป็นผู้ผลิต เช่น นำเข้า ส่งออก


กำหนดวันเริ่มทำบัญชี
ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ให้เริ่มทำบัญชี ณ วันที่จดทะเบียนนิติบุคคลตามกฏหมาย
กิจการที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ ให้เริ่มทำบัญชี ณ วันที่เริ่มต้นทำธุรกิจในประเทศไทย
กิจการทั่วไปที่เป็นกิจการร่วมค้า หรือ สถานที่ที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ ให้เริ่มทำบัญชี ณ วันที่เริ่มต้นทำกิจการ


กำหนดวันยื่นงบ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ กิจการร่วมค้า ให้ยื่นงบภายใน 5 เดือน นับแต่วันที่ปิดบัญชี
บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ให้ยื่นงบภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบได้รับอนุมัติ


กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ
1. ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท
2. สินทรัพย์รวมกันไม่เกิน 30 ล้านบาท
3. รายได้รวมกันไม่เกิน 30 ล้านบาท
แต่ถ้ารายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดข้างต้น ให้กิจการนั้นๆ ต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ แต่ต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีภาษีอากรแทน

พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
วิชาชีพบัญชี หมายความว่า วิชาชีพด้านการบัญชี การสอบบัญชี บริหารบัญชี การวางระบบบัญชี ภาษีบัญชี
สภาวิชาชีพบัญชี มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยการดำเนินงานให้อยู่ภายใต้การดูแลของ คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี (ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน)

สถาบันเกี่ยวกับการบัญชี
1. สถาบันวิชาชีพ ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น สมาคมผู้สอบภายในแห่งประเทศไทย
สภาวิชาชีพบัญชี เป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ให้ความรู้ ศึกษา คิดค้น กำหนดจรรยาบรรณ ให้หรือถอนใบอนุญาติ รับรองความรู้ด้านบัญชี
2. สถาบันดูแลกำกับหรือควบคุม เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดูแลด้านการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบัญชี
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดูแลด้านการจดทะเบียนเรื่องต่างๆ เป็นต้น





















ไม่มีความคิดเห็น: