วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พระราชบัญญัติวิชาชีพการบัญชี 2547


พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 ตุลาคม 2547 และบังคับใช้วันที่ 23 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป โดยแบ่งเป็น 9 หมวดและบทเฉพาะกาล คือ
1. หมวดวิชาชีพบัญชี
2. หมวดสภาวิชาชีพบัญชี
3. คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
4. คณะกรรมการกำหนดมาตรนฐานการบัญชี
5. การควบคุมการประกอบวิชาชีพด้านการสอบบัญชี
6. การควบคุมการประกอบวิชาชีพด้านการทำบัญชี
7. จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
8. การกำกับดูแล
9. บทกำหนดโทษ

วิชาชีพบัญชี
หมายความว่า วิชาชีพในการทำบัญชี การทำ การสอบ การบริหาร การวางระบบ ด้านภาษี การศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี
ขนาดตัวอักษร
สภาวิชาชีพบัญชี
มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนานโยบาย เช่นการกำหนดมาตรฐานการบัญชี การสอบบัญชี กำหนดจรรยาบรรณ การออกใบอนุญาติ และ ถอด ใบอนุญาติ การทำบัญชี

สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี มี 4 ประเภท ได้แก่ สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ และสมาชิกกิตติมาศักดิ์

สถาบันที่กำกับดูแลหรือควบคุม
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดูแลให้กิจการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดูแลบริษัทจดทะเบียน การจัดทำบัญชีตามมาตรฐาน การนำส่งงบ และการเปิดเผยข้อมูล
- ธนาคารแห่งประเทศไทย ดูแลธนาคารพาณิชย์ และ สถาบันการเงิน
- กรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ ควบคุมดูแลสหกรณ์ในเรื่องต่างๆ รวมถึงการจัดทำบัญชีและงบการเงิน
- กรมสรรพากร ควบคุมให้กิจการเสียภาษีให้ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น: